top of page

ยาจู้หรือลูกประคบสมุนไพร อปป. (ลูกประคบทรายทอง)

ผู้ถ่ายทอดความรู้ : นายอินสม สิทธิตัน

สรรพคุณ : ใช้ประคบแก้ปวดเส้นเอ็นตึงที่ปวดบวมพอง และทำให้เลือดไหลเวียนดี คลายอาการตึงของเส้นเอ็น

ส่วนผสมสมุนไพร : สัดส่วนชั่งสด 1 : 1

เสนียด : ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ แก้ปวดบวม แก้กระดูกหัก แตก ร้าว เลือดคั่ง บวมเจ็บปวด ปวดข้อ

สะพ้านก้น : แก้ไขข้ออักเสบ ขับน้ำเหลือง แก้ปวดเมื่อย รักษาแผลเรื้อรังและผิวหนัง จุกเสียดเนื่องจากไต

หัวไพล : เหง้าแก่จัด แก้ฟกช้ำ บวม เคล็ดขัดยอก ปวดเมื่อย แก้บอบช้ำ บำรุงผิวหนัง

ขมิ้น : ใช้เป็นยา แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน สมานแผล แก้โรคผิวหนัง

ตะไคร้ : ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวด แต่งกลิ่น

ข่า : แก้ปวดเมื่อย แก้โรคผิวหนัง แก้ฟกบวม แก้อาการเป็นตะคริว

เปลือกมะรุม : แก้ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ แก้หอบหืด

เปลือกต้นเพกา : รักษาอาการปวดฝี ใช้ทารักษาอาการฟกบวม สมานแผล

ผักเสี้ยนผี : รักษาอาการไขข้ออักเสบ อัมพฤกษ์อัมพาต โรคผิวหนัง แก้ปวดท้อง

มะกรูด : ช่วยบรรเทาการอักเสบจากโรคข้อต่ออักเสบอย่างข้อเข่าเสื่อม มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน

ใบมะขาม : ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใสด้วยวิตามินซี แก้อาการคันตามร่างกาย

ใบส้มป่อย : ช่วยให้เส้นเอ็นหย่อน ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง

เกลือ : ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น

การบูร : แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ (1 ช้อนโต๊ะ ต่อ 1 ลูก)

ทรายหยาบ : ใส่เพื่อเก็บความร้อนและเป็นน้ำหนักกด (1 แก้ว ต่อ 1 ลูก)

 

สมุนไพรที่ขาดไม่ได้ คือ เสนียด และสะพ้านก้น เนื่องจากมีสรรพคุณในการรักษาดีกว่าสมุนไพรชนิดอื่น

IMG_5344.JPG

วิธีทำ :

1. นำส่วนผสมที่เป็นสมุนไพรมาตากแห้งแล้วมาบดหยาบ ผสมให้เข้ากัน

2. ตักส่วนผสมสมุนไพรใส่ผ้าดิบ 1 ส่วน การบูร 1 ช้อน ทรายหยาบ 1 แก้ว (ใส่เพื่อเก็บความร้อนและเป็นน้ำหนักกด)

3. จัดการห่อเป็นรูปทรงตามอย่างโบราณ ด้วยผ้าดิบ 2 ชั้น ดึงมุมผ้าทั้ง 4 มุม จับด้านล่างเข้าหากันแล้วหมุนให้แน่นเป็นลูกกลม ขนาดประมาณผลส้มโอ มัดอีกครั้งด้วยผ้าขาว ผูกปลายให้เป็นที่จับ

4. การทำลูกยาจู้หรือประคบสมุนไพร ต้องทำเป็นคู่เพื่อนึ่งสลับเวลาใช้งานให้มีความร้อนต่อเนื่อง

P8220624.JPG
P8220628.JPG
P8220657.JPG
P8220667.JPG

วิธีใช้ :

1. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที

2. นำลูกประคบที่ร้อนได้ที่แล้วนำมาประคบผู้ป่วยที่มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกายโดยสับเปลี่ยนลูกประคบ 2 ลูกเพื่อให้ความร้อนต่อเนื่อง

 

ขั้นตอนการประคบ :

1. จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย นั่ง นอนตะแคงขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบ

2. นำลูกประคบที่ร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่อวัยวะต้องการ (ก่อนประคบควรทดสอบความร้อนของลูกประคบ คือ แตะที่ท้องแขนหรือฝ่ามือก่อนทำการประคบ)

3. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังโดยตรงในช่วงแรก ต้องทำด้วยความเร็วไม่แช่ไว้นาน เพราะคนไข้จะทนความร้อนไม่ได้

4. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลง ก็สามารถสับเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกได้ (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ)

 

การเก็บรักษาลูกประคบ :

1. ลูกประคบสมุนไพรหากใช้ต่อเนื่องทุกวันจะสามารถใช้ได้นาน 7 วัน

2. หลังจากใช้แล้วควรเก็บลูกประคบใส่ถุงพลาสติก แล้วนำใส่ในตู้เย็น จะทำให้เก็บได้นาน ป้องกันการบูด (ควรตรวจสอบตัวยาในห่อลูกประคบด้วย หากมีกลิ่นบูดไม่ควรนำมาใช้)

P8220670.JPG
bottom of page